ข่าวประชาสัมพันธ์

ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อและที่อยู่ขององค์กร: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

สมาชิกทีม : นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) , พญ.ผกาพันธุ์ เปี่ยมคล้า (ผอ.รพร.จอมบึง), นายสุระ เอติญัติ (สสอ.จอมบึง) และคณะ

ผู้นำเสนอ : นางพวงเงิน พานทอง

บทคัดย่อ

ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 ล้านคน ในปี 2528 เป็น 150 ล้านคน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และคาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566 โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่ 4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 6.9 หรือ 3 ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดหลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขพร้อมกำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ. โดยมีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ พบว่า ในปี 55 56 57 58 และ 59 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเท่ากับ ร้อยละ1.23 1.13 1.37 1.31 และ 1.27 ตามลำดับ อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี เท่ากับร้อยละ 23.93 27.85 30.96 29.97 และ 33.78 9 ตามลำดับ และอัตราความพึงพอใจ เท่ากับ ร้อยละ 82.38 83.34 83.27 83.51 และ 84.27 ตามลำดับ โดย ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27% จากแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนามาตลอด 5 ปี โดยเน้นองค์รวมทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจเป็นต้นแบบแนวทางที่จะนำไปพํฒนาต่อในระดับภาคหรือประเทศได้

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านคน ในปี พ.ศ.2528 มาเป็น 150 ล้านคนในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และ คาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566(สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ,2550)โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณ 6.9% หรือ 3ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก

กิจกรรมการพัฒนา:

แนวคิดใช้หลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (สมชาติ โตรักษา, 2558) และ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย

1.วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง

คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

2.กำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ.

3.มีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง:

เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการ

ผลการดำเนินงาน

ปีงบประมาณ

2554

2555

2556

2257

2558

2559

อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน(ร้อยละ)

1.52

1.23

1.13

1.37

1.31

1.27

อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ร้อยละ)

NA

23.93

27.85

30.96

29.97

33.78

อัตราความพึงพอใจ(ร้อยละ)

NA

82.38

83.34

83.27

83.51

84.27

NA = No data available

ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27%

10.บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย เบาหวานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสุขภาพแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นรูปแบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและมีภาระงานมาก การช่วยเหลือกันทำงานเป็นทีม จะทำให้งานสำเร็จ มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงยิ่งๆขึ้นอย่างยั่งยืน

11.การติดต่อกับทีมงาน: นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง ที่อยู่ 5 ม.8 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี tel : 080-0233250 e-mail : nae.panthong@gmail.com

CQI : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ( CKD Clinic ) คลินิก รักษ์ไต

1.ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา :

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ( CKD Clinic ) คลินิก รักษ์ไต

2.คำสำคัญ

พัฒนาระบบ , การดูแลผู้ป่วยโรคไต , โรคไตเรื้อรัง , CKD

3.สรุปผลงานโดยย่อ

โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease ; CKD) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของโลก รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคหรือไตวายระยะสุดท้าย (end stage renal disease ; ESRD) ซึ่งจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) การล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplantation)

การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไต เพื่อไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย และป้องกันหรือควบคุมความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น ไม่ให้รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงลดภาระทางเศรษฐกิจจากการบำบัดทดแทนไต ซึ่งเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง

ดังนั้น งานโรคไม่ติดต่อ NCD โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี เล็งเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังขึ้น (CKD Clinic) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและส่งต่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

4.ชื่อและที่อยู่องค์กร

พัชรินทร์ ปัญญาเครือ (ผู้นำเสนอ) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง บ้านเลขที่ 5 ม.8 ต.จอมบึง อ.จอมบึง

จ.ราชบุรี 70150

5.สมาชิกทีม / ชื่อหน่วยงาน

1. นายดิษฐวัฒน์ ปฐมเจริญสุขชัย ตำแหน่ง นายแพทย์

2. นางสาวพัชรินทร์ ปัญญาเครือ ตำแหน่งเภสัชกร

3. นางพวงเงิน พานทอง ตำแหน่ง พยาบาล

4. นางสาวอัจฉราพร สุดไธสง ตำแหน่ง นักแพทย์แผนไทย

6.เป้าหมาย

1.เพื่อชะลอการดำเนินไปของไต และ ป้องกันผู้ป่วย CKD Stage 3 เข้าสู่ Stage 4 และ 5 ตามลำดับ

2.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังแก่ผู้ป่วย รวมถึงการดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม

3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

4.การติดตาม และการส่งต่อเพื่อการบำบัดทดแทนไต

7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

1.การให้การบริการและการดูแลผู้ป่วย ยังไม่ครอบคลุมในทุกๆด้าน ( ขาดด้านโภชนาการ )

2.ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแล และปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง

3.ผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ

8.กิจกรรมการพัฒนา

1.ประชุม หารือกับทีมสหวิชาชีพ เกี่ยวกับการจัดตั้ง CKD Clinic และแต่งตั้งคณะกรรมการ

2.กำหนด บทบาทหน้าที่ ของแต่ละสาขาวิชาชีพ ในการปฏิบัติงาน CKD Clinic

การประชุมเปิดศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ระดับอำเภอ

อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

วันพฤหัสบดีที่ 21 มีนาคม 2562

ณ ห้องประชุม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอจอมบึง

Footer Logo

"โรงพยาบาลของเรามุ่งเน้นให้บริการอย่างมีมาตรฐาน สร้างเสริมสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการพึงตนเองอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่โรงพยาบาล ที่เป็นเลิศระดับประเทศ ปี 2565"

สมัครจดหมายข่าวของเรา

Find us at

ที่ตั้งโรงพยาบาล:
เลขที่ 5 หมู่ 8 ตำบลจอมบึง อำเภอจอมบึง
จังหวัดราชบุรี 70150 >>ไปยังแผนที่

032 261592 ถึง 4
cbhospital.rb@gmail.com

Open daily : 24 hour

Facebook