CQI : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ( CKD Clinic ) “ คลินิก รักษ์ไต ”
1.ชื่อผลงาน / โครงการพัฒนา :
การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ( CKD Clinic ) “ คลินิก รักษ์ไต ”
2.คำสำคัญ
พัฒนาระบบ , การดูแลผู้ป่วยโรคไต , โรคไตเรื้อรัง , CKD
3.สรุปผลงานโดยย่อ
โรคไตเรื้อรัง (chronic kidney disease ; CKD) เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขของโลก รวมถึงประเทศไทย เนื่องจากเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงมาก โดยเฉพาะเมื่อเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคหรือไตวายระยะสุดท้าย (end stage renal disease ; ESRD) ซึ่งจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต (renal replacement therapy) ได้แก่ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) การล้างไตทางช่องท้อง (peritoneal dialysis) หรือการผ่าตัดปลูกถ่ายไต (kidney transplantation)
การดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังอย่างเหมาะสมจะช่วยป้องกันหรือชะลอการเสื่อมของไต เพื่อไม่ให้เกิดโรคไตวายระยะสุดท้าย และป้องกันหรือควบคุมความรุนแรงของภาวะแทรกซ้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคหัวใจและหลอดเลือดที่อาจเกิดขึ้น ไม่ให้รุนแรงจนเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น รวมถึงลดภาระทางเศรษฐกิจจากการบำบัดทดแทนไต ซึ่งเป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง
ดังนั้น งานโรคไม่ติดต่อ NCD โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี เล็งเห็นว่า ควรมีการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรังขึ้น (CKD Clinic) เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ช่วยชะลอการดำเนินไปของโรค ช่วยแนะนำให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลตนเองอย่างถูกต้องและเหมาะสม ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ตลอดจนติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องและส่งต่อการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ชื่อและที่อยู่องค์กร
พัชรินทร์ ปัญญาเครือ (ผู้นำเสนอ) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง บ้านเลขที่ 5 ม.8 ต.จอมบึง อ.จอมบึง
จ.ราชบุรี 70150
5.สมาชิกทีม / ชื่อหน่วยงาน
1. นายดิษฐวัฒน์ ปฐมเจริญสุขชัย ตำแหน่ง นายแพทย์
2. นางสาวพัชรินทร์ ปัญญาเครือ ตำแหน่งเภสัชกร
3. นางพวงเงิน พานทอง ตำแหน่ง พยาบาล
4. นางสาวอัจฉราพร สุดไธสง ตำแหน่ง นักแพทย์แผนไทย
6.เป้าหมาย
1.เพื่อชะลอการดำเนินไปของไต และ ป้องกันผู้ป่วย CKD Stage 3 เข้าสู่ Stage 4 และ 5 ตามลำดับ
2.เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไตเรื้อรังแก่ผู้ป่วย รวมถึงการดูแลรักษาตัวเองอย่างเหมาะสม
3.เพื่อให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
4.การติดตาม และการส่งต่อเพื่อการบำบัดทดแทนไต
7.ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ
1.การให้การบริการและการดูแลผู้ป่วย ยังไม่ครอบคลุมในทุกๆด้าน ( ขาดด้านโภชนาการ )
2.ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจในการดูแล และปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคไตเรื้อรัง
3.ผู้ป่วยมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
8.กิจกรรมการพัฒนา
1.ประชุม หารือกับทีมสหวิชาชีพ เกี่ยวกับการจัดตั้ง CKD Clinic และแต่งตั้งคณะกรรมการ
2.กำหนด บทบาทหน้าที่ ของแต่ละสาขาวิชาชีพ ในการปฏิบัติงาน CKD Clinic