Displaying items by tag: r2r https://chombunghospital.com Sun, 22 May 2022 23:28:16 +0700 Joomla! - Open Source Content Management en-gb พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน https://chombunghospital.com/cbhsite/index.php/blog/k2/item/14-r2rdm https://chombunghospital.com/cbhsite/index.php/blog/k2/item/14-r2rdm พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน

ชื่อและที่อยู่ขององค์กร: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี

สมาชิกทีม : นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) , พญ.ผกาพันธุ์ เปี่ยมคล้า (ผอ.รพร.จอมบึง), นายสุระ เอติญัติ (สสอ.จอมบึง) และคณะ

ผู้นำเสนอ : นางพวงเงิน พานทอง

บทคัดย่อ

ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 ล้านคน ในปี 2528 เป็น 150 ล้านคน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และคาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566 โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่ 4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 6.9 หรือ 3 ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดหลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขพร้อมกำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ. โดยมีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ พบว่า ในปี 55 56 57 58 และ 59 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเท่ากับ ร้อยละ1.23 1.13 1.37 1.31 และ 1.27 ตามลำดับ อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี เท่ากับร้อยละ 23.93 27.85 30.96 29.97 และ 33.78 9 ตามลำดับ และอัตราความพึงพอใจ เท่ากับ ร้อยละ 82.38 83.34 83.27 83.51 และ 84.27 ตามลำดับ โดย ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27% จากแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนามาตลอด 5 ปี โดยเน้นองค์รวมทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจเป็นต้นแบบแนวทางที่จะนำไปพํฒนาต่อในระดับภาคหรือประเทศได้

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านคน ในปี พ.ศ.2528 มาเป็น 150 ล้านคนในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และ คาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566(สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ,2550)โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณ 6.9% หรือ 3ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก

กิจกรรมการพัฒนา:

แนวคิดใช้หลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (สมชาติ โตรักษา, 2558) และ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย

1.วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง

คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

2.กำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ.

3.มีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง:

เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการ

ผลการดำเนินงาน

ปีงบประมาณ

2554

2555

2556

2257

2558

2559

อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน(ร้อยละ)

1.52

1.23

1.13

1.37

1.31

1.27

อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ร้อยละ)

NA

23.93

27.85

30.96

29.97

33.78

อัตราความพึงพอใจ(ร้อยละ)

NA

82.38

83.34

83.27

83.51

84.27

NA = No data available

ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27%

10.บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย เบาหวานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสุขภาพแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นรูปแบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและมีภาระงานมาก การช่วยเหลือกันทำงานเป็นทีม จะทำให้งานสำเร็จ มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงยิ่งๆขึ้นอย่างยั่งยืน

11.การติดต่อกับทีมงาน: นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง ที่อยู่ 5 ม.8 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี tel : 080-0233250 e-mail : nae.panthong@gmail.com

]]>
cbhospital.rb@gmail.com (R2Rdm) ความรู้สู่ประชาชน Thu, 23 May 2019 15:58:42 +0700