ชื่อผลงาน/โครงการพัฒนา: พัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานแบบองค์รวมโดยส่วนร่วมของชุมชน
ชื่อและที่อยู่ขององค์กร: โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี
สมาชิกทีม : นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) , พญ.ผกาพันธุ์ เปี่ยมคล้า (ผอ.รพร.จอมบึง), นายสุระ เอติญัติ (สสอ.จอมบึง) และคณะ
ผู้นำเสนอ : นางพวงเงิน พานทอง
บทคัดย่อ
ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจากเดิม 30 ล้านคน ในปี 2528 เป็น 150 ล้านคน ในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และคาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566 โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่ 4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณร้อยละ 6.9 หรือ 3 ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดหลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องและหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไขพร้อมกำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ. โดยมีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นไปดำเนินการ พบว่า ในปี 55 56 57 58 และ 59 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนเท่ากับ ร้อยละ1.23 1.13 1.37 1.31 และ 1.27 ตามลำดับ อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี เท่ากับร้อยละ 23.93 27.85 30.96 29.97 และ 33.78 9 ตามลำดับ และอัตราความพึงพอใจ เท่ากับ ร้อยละ 82.38 83.34 83.27 83.51 และ 84.27 ตามลำดับ โดย ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27% จากแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่พัฒนามาตลอด 5 ปี โดยเน้นองค์รวมทำให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น และอาจเป็นต้นแบบแนวทางที่จะนำไปพํฒนาต่อในระดับภาคหรือประเทศได้
ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ : ผู้เป็นเบาหวานทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 30 ล้านคน ในปี พ.ศ.2528 มาเป็น 150 ล้านคนในปี 2543 เพิ่มเป็น 194 ล้านคน ในปี 2546 และ คาดว่าจะสูงถึง 380 ล้านคน ในปี 2566(สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ,2550)โรคเบาหวานเป็นสาเหตุการตายอันดับ 4 ของทั่วโลก จากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจ ไต และทางหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของความพิการ ความทุพพลภาพ จากการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยครั้งที่4 ปีพ.ศ.2552ของสถาบันวิจัยระบบสุขภาพคาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคเบาหวานในอายุ 25ปีขึ้นไปประมาณ 6.9% หรือ 3ล้านคน โดยมีสาเหตุมาจากปัจจัยเสี่ยงของการมีวิถีชีวิตที่ไม่เหมาะสม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง มีผู้ป่วยเบาหวานเป็นอันดับที่ 2 ของผู้มารับบริการ 5อันดับโรคแรก
กิจกรรมการพัฒนา:
แนวคิดใช้หลักการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง (สมชาติ โตรักษา, 2558) และ หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม โดย
1.วิเคราะห์รูปแบบการดำเนินงานเดิมของงานการให้บริการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทั้ง
คปสอ. เพื่อหาจุดหรือประเด็น ที่ต้องปรับปรุงแก้ไข
2.กำหนดระบบบริการใหม่ ปรับระบบการเข้าถึง โดยปรับระบบการนัดหมายเป็นนัดตามตำบล, ปรับระบบการประเมินและเสริมพลังโดยสหวิชาชีพมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ดำเนินการโดยจัดให้มี Guideline ในการดูแลผู้ป่วย ทบทวนเวชระเบียนก่อนวันที่มีคลินิก ,พัฒนาระบบการประเมิน CVD RISK ในผู้ป่วยทุกราย ,นักกายภาพบำบัดตรวจเท้า ,นักจิตเวชประเมินภาวะซึมเศร้า ,เภสัชกรให้คำแนะนำเรื่องยา ,โภชนาการให้คำแนะนำเรื่องอาหาร จัดให้มีระบบให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล,ในรายที่พบปัญหาทำ conference case /grand round โดยใช้ทีมจากครอบครัว อสม. รพสต และทีมสหวิชาชีพ ในการหารือแนวทางการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน,พัฒนาระบบการจัดตั้งศูนย์การเยี่ยมบ้านในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้ รพสต.และท้องถิ่นทราบทุกเดือนเชื่อมโยงกันทั้ง คปสอ.
3.มีการประเมินติดตามและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
การประเมินผลการเปลี่ยนแปลง:
เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน ระหว่าง ก่อน (ปีงบประมาณ 2554) กับ หลัง (ปีงบประมาณ 2555-2559) การนำรูปแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ไปดำเนินการ
ผลการดำเนินงาน |
ปีงบประมาณ |
|||||
2554 |
2555 |
2556 |
2257 |
2558 |
2559 |
|
อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อน(ร้อยละ) |
1.52 |
1.23 |
1.13 |
1.37 |
1.31 |
1.27 |
อัตราการเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี(ร้อยละ) |
NA |
23.93 |
27.85 |
30.96 |
29.97 |
33.78 |
อัตราความพึงพอใจ(ร้อยละ) |
NA |
82.38 |
83.34 |
83.27 |
83.51 |
84.27 |
NA = No data available
ผลการดำเนินงานพบว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือด ของกลุ่มตัวอย่างหลังการพัฒนามีค่าลดลง ,อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน ลดลงได้ตามเกณฑ์ตัวชี้วัดที่กำหนดไว้,ลดระยะเวลารอคอยจากเดิมเฉลี่ย 86 นาที เป็น 60 นาที ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ กำหนด ,ความพึงพอใจของผู้ให้บริการก่อนและหลังการพัฒนาพบว่า ความพึงพอใจเพิ่มขึ้นจาก 82.38% เป็น 84.27%
10.บทเรียนที่ได้รับ : การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย เบาหวานโดยทีมสหสาขาวิชาชีพสุขภาพแบบองค์รวมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นรูปแบบที่สามารถปฏิบัติได้จริง เหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลชุมชน ที่มีข้อจำกัดด้านบุคลากรและมีภาระงานมาก การช่วยเหลือกันทำงานเป็นทีม จะทำให้งานสำเร็จ มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงยิ่งๆขึ้นอย่างยั่งยืน
11.การติดต่อกับทีมงาน: นางพวงเงิน พานทอง (พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ) โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จอมบึง ที่อยู่ 5 ม.8 ต.จอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี tel : 080-0233250 e-mail : nae.panthong@gmail.com